ลักษณะของผู้ที่ฟังธรรมแล้วเข้าใจ และไม่เข้าใจ -พุทธพจน์
Mar 28, 2023 18:58:11 GMT 7
ส้ม Nawaliw, U, and 1 more like this
Post by jade on Mar 28, 2023 18:58:11 GMT 7
- ลักษณะของผู้ที่ฟังธรรม แล้วไม่สามารถเข้าใจความหมาย -
- ลักษณะของผู้ที่ฟังธรรม แล้วสามารถเข้าใจความหมาย -
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม
คือ ความถูกในกุศลธรรม
บุคคลย่อมพูดมาก ๑
พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑
พูดปรารภตน ๑
เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้มีจิตไม่แน่วแน่ มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย ๑
เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑
เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจ ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑
บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้อันความลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑
เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม มีจิตกระด้าง ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม
คือ ความถูกในกุศลธรรม
บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑
ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑
ไม่พูดปรารภตน ๑
เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยอุบายแยบคาย ๑
เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑
ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑
บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้อันความลบหลู่ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑
เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง ๑
ที่มา
สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๑-๓ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๑๕๑-๑๕๓
84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=4079&Z=4095
ขยายความ
ผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม = ไม่สามารถที่จะเข้าใจถูก เกิดปัญญา ความเข้าใจพระธรรม
พูดปรารภตน = พูดแต่เรื่องของตนเอง บ้าอัตตาตนเอง
มีจิตแข่งดีฟังธรรม = หาช่องจับผิด คิดว่าตัวเองพูดได้สั้นกว่าเข้าใจง่ายกว่า
ผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม = คิดว่าผู้สอนไม่เก่ง ไม่เท่าไร
เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจ ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ = คิดเอง เออเอง ตีความมั่วๆในความหมายของตัวเอง
บุคคลย่อมพูดมาก = พูดเยอะ อยากจะพูดมาก
พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก = พูดเยอะ เอาคำคนโน้นนี่มาพูดมาก มีความจำมาก เอาสมบัติคนอื่นมาพูด
เป็นผู้มีจิตกระด้าง = ความกระด้างแห่งจิตมี ๕ อย่าง
ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใส ใน “พระศาสดา” ใน “พระธรรม” ใน “พระสงฆ์” ใน “สิกขา” ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิต ข้อที่หนึ่ง - ข้อที่สี่ ฯ
ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือนตะปู ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่ห้า ฯ - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
- ลักษณะของผู้ที่ฟังธรรม แล้วสามารถเข้าใจความหมาย -
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม
คือ ความถูกในกุศลธรรม
บุคคลย่อมพูดมาก ๑
พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑
พูดปรารภตน ๑
เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้มีจิตไม่แน่วแน่ มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย ๑
เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑
เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจ ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑
บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้อันความลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑
เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม มีจิตกระด้าง ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม
คือ ความถูกในกุศลธรรม
บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑
ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑
ไม่พูดปรารภตน ๑
เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยอุบายแยบคาย ๑
เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑
ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑
บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑
เป็นผู้อันความลบหลู่ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑
เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง ๑
ที่มา
สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๑-๓ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๑๕๑-๑๕๓
84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=4079&Z=4095
ขยายความ
ผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม = ไม่สามารถที่จะเข้าใจถูก เกิดปัญญา ความเข้าใจพระธรรม
พูดปรารภตน = พูดแต่เรื่องของตนเอง บ้าอัตตาตนเอง
มีจิตแข่งดีฟังธรรม = หาช่องจับผิด คิดว่าตัวเองพูดได้สั้นกว่าเข้าใจง่ายกว่า
ผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม = คิดว่าผู้สอนไม่เก่ง ไม่เท่าไร
เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจ ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ = คิดเอง เออเอง ตีความมั่วๆในความหมายของตัวเอง
บุคคลย่อมพูดมาก = พูดเยอะ อยากจะพูดมาก
พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก = พูดเยอะ เอาคำคนโน้นนี่มาพูดมาก มีความจำมาก เอาสมบัติคนอื่นมาพูด
เป็นผู้มีจิตกระด้าง = ความกระด้างแห่งจิตมี ๕ อย่าง
ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใส ใน “พระศาสดา” ใน “พระธรรม” ใน “พระสงฆ์” ใน “สิกขา” ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิต ข้อที่หนึ่ง - ข้อที่สี่ ฯ
ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือนตะปู ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่ห้า ฯ - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค